ทำไมต้องใช้ยาสระผมสูตรธรรมชาติ?
June 24, 2011กิจกรรมตามฤดูกาลของไร่ดินดีใจ
July 7, 2011จากเมล็ดงาอินทรีย์ที่เราหว่านและเก็บเกี่ยวจากในไร่ด้วยวิธีการเกษตร ธรรมชาติ นำมาบีบน้ำมันด้วยเครื่องบีบที่ใช้แรงคน ไม่ผ่านความร้อน จนได้น้ำมันงาบริสุทธิ์อินทรีย์ Extra virgin Organic Sesame Oil
น้ำมันงาเป็นอีกผลผลิตหนึ่งของไร่ดินดีใจ ในการที่จะพึ่งพาตนเอง เราแบ่งพื้นที่สำหรับปลูกงาเพื่อใช้บริโภค ด้วยแรงงานในครอบครัว เราหว่านดูแลจนออกดอก ติดฝัก ช่วยกันเก็บเกี่ยวและบีบด้วยเครื่องหีบขนาดเล็กที่ใช้แรงงานของคนโดยไม่ต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้า น้ำมันงาที่หีบได้จึงเป็นน้ำมันงาสกัดเย็น Cold Press Oil
ซึ่งเรานำมาใช้ในการปรุงอาหาร บำรุงผิว ทากันแดด นวดตัว แทนการใช้ครีมบำรุงผิวหรือโลชั่นได้ดี เหมาะสำหรับบำรุงเส้นผมและผิวพรรณ ดีสำหรับเด็กและผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย เพราะเป็นของธรรมชาติ เหมาะสำหรับทารักษาผื่นแพ้ผ้าอ้อมของทารก ทากันแดดช่วยปกป้องผิวจากรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต หรือชุบสำลีทาลดริ้วรอยบริเวณใบหน้า ใช้หมักผมทำให้ผมดำเป็นมันวาว ไม่แห้งแตกปลาย แก้ปัญหาผมร่วง และเป็นน้ำมันสำหรับทำ Oil Pulling
สรรพคุณของน้ำมันงา
คนโบราณนิยมใช้น้ำมันงาในการรักษาตัวเองมานานหลายพันปีมาแล้ว ทั้งในประเทศอินเดียและจีน สรรพคุณต่างๆที่รวบรวมได้มีดังนี้
1. มีสรรพคุณต้านแบคทีเรีย รา และไวรัส
2. สามารถลดการอักเสบ
3. มีรายงานการทดลองว่าสามารถทำให้หลอดเลือดแดงดีขึ้น ลดการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด (Atherosclerosis)
4. ใช้กับโรคเรื้อรัง เช่น ตับอักเสบ เบาหวาน และปวดศีรษะเรื้อรัง
5. ในการศึกษาทดสอบในห้องปฏิบัติการ น้ำมันงาสามารถสกัดการเติบโตของเซลล์มะเร็งผิวหนัง (malignant melanoma) และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจเป็นเพราะมีกรด linoleic ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น (EFA)
6. มีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเมื่อซึมซับลงไปใต้ผิวหนังแล้วจะทำลายอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น จึงมีสรรพคุณต้านการเกิดมะเร็งด้วย
7. เมื่อเข้าสู่หลอดเลือดจะช่วยลดจำนวนไลโปโปรตีนชนิดเบา (LDL) ในหลอดเลือดซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
8. น้ำมันงาช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ให้เป็นปกติ
9. ภายในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เซลล์บางชนิดใช้ไขมันแทนน้ำตาล น้ำมันงาจะเป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับเซลล์เหล่านี้
10. เมื่อใช้กลั้วคอและบ้วนปากจะลดเชื้อที่ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ เชื้อก่อโรคเจ็บคอ และเชื้อหวัด
11. ใช้หยอดจมูก (1-2 หยด) เมื่อเป็นไซนัสพบว่าได้ผลดี
12. ใช้ทาผิวผู้เป็นโรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวาง (Psoriasis) และผู้มีผิวแห้ง
13. ใช้ทาผิวและเคลือบเส้นผมเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดและลม
14. เมื่อทาผิวหนังจะช่วยจับสารพิษชนิดละลายน้ำได้ และเมื่อล้างหรืออาบน้ำ สารพิษที่จับไว้ก็จะหลุดไป น้ำมันงาจะช่วยจับสารพิษในกระแสเลือดเช่นเดียวกัน และนำไปสู่การขจัดออกจากร่างกายต่อไป
15. เมื่อใช้ทาผมและนวดศีรษะจะช่วยให้หนังศีรษะไม่แห้ง และช่วยรักษาเหาในกรณีที่เด็กติดเหา
16. การทาน้ำมันงานอกจากจะทำให้ผิวนุ่มแล้วจะช่วยรักษาแผลเล็กน้อยได้ เมื่อใช้เป็นน้ำมันนวดให้ใช้ทาแขนขาในลักษณะขึ้นลงและใช้วิธีคลึงเป็นวงกลม รอบๆ ข้อต่อ เพื่อกระตุ้นพลังธรรมชาติของข้อ ช่วยลดอาการปวดตามข้อได้ ชาวธิเบตใช้หยดจมูกข้างละ 1 หยดเพื่อช่วยให้นอนหลับ และลดความกระวนกระวาย
17. ใช้ทาผิวหน้าจะทำให้ผิวตึงขึ้น เมื่อทาบริเวณจมูกจะทำให้รูขุมขนไม่ให้เปิดมากไป ป้องกันการแก่ตัวของผิวหน้า ใช้ได้ดีแม้กับวัยรุ่นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสำอางอื่นๆ เลย
18. ใช้ทาให้ทั่วตัวก่อนว่ายน้ำเพื่อป้องกันการเกิดระคายเคือง จากสารคลอรีนที่ผสมไว้ในสระว่ายน้ำ น้ำมันงาดูดซึมเร็วไม่ติดค้างอยู่บนผิว
19. สำหรับผู้ต้องรับการรักษาด้วยการฉายรังสี น้ำมันงาจะช่วยบรรเทาอันตรายจากออกซิเจนอิสระที่เกิดจากการรักษาชนิดนี้
20. ผสมน้ำชำระส่วนปกปิดจะช่วยป้องกันโรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการคัน (Vaginal yeast infections) และเนื่องจากน้ำมันงามีสารที่มีผลคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง จึงมีผู้ใช้ทาเฉพาะที่เพื่อช่วยลดการเปลี่ยนแปลง เช่นการเกิดการบางตัวของผิวที่อาจทำให้มีอาการระคายเคืองเมื่อฮอร์โมนหญิงลด ลง ชาวอินเดียใช้ทาหน้าท้องเมื่อปวดประจำเดือน
21. สำหรับทารกน้ำมันงาจะช่วยป้องกันการเกิดการระคาย เกิดผื่นแดงที่ผิวจากปัสสาวะและความอับชื้น (rash) เมื่อใช้ทาผิวบริเวณจมูกและหูจะช่วยป้องกันโรคผิวหนังที่อาจเกิดบริเวณเหล่า นี้ สำหรับเด็กที่เป็นหวัดและติดหวัดบ่อย ใช้น้ำมันงาเช็ดภายในผนังจมูกเล็กน้อยจะช่วยลดการติดเชื้อที่มาเข้าสู่ร่าง กายได้
22. มีผลในการระบายท้อง (Laxative) โดยจิบเพียง 1 ช้อนชาก่อนนอน อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูก แต่อย่าใช้ขณะท้องร่วง
หมายเหตุ
น้ำมัน งาที่หีบโดยวิธีไม่ใช้ความร้อนจะมีสีเหลืองใสออกเขียวเล็กน้อย และมีกลิ่นอ่อน ไม่ควรใช้กินมากกว่า 10% ของจำนวนแคลอรี่ต่อวันหนึ่งๆ หากมีอาการแพ้ควรงดใช้ เช่นเดียวกับอาหารและน้ำมันอื่นๆ
เคล็ด(ไม่)ลับกับน้ำมันงา
• ใช้น้ำมันงาประกอบอาหารรับประทานเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัว หลอดเลือดหัวใจตีบตัน และอาการท้องผูก
• น้ำมันงา ใช้ลดการหมักหมมในช่องท้อง โดยทานน้ำมันงาดิบ ๆ 1 ถึง 2 ช้อนโต๊ะ ขณะท้องว่าง เพื่อให้ลำไส้ขับสิ่งที่หมักหมมอยู่ออกไป
• น้ำมันงา ใช้ทาผมจะทำให้ผมดำเป็นมันวาว ไม่แห้งแตกปลาย และใช้ทาผิว เพื่อให้ความชุ่มชื้น ลดรอยหยาบกร้าน ช่วยให้ผิวพรรณผุดผ่อง
• น้ำมันงาใส่ขิง ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยใช้ขิงสดขูดละเอียดผสมกับน้ำมันงาในปริมาณเท่ากัน จุ่มผ้าฝ้ายลงในส่วนผสมนี้ นำมาถูนวดบริเวณที่ปวดเมื่อย
• ใช้กระเทียมสับผสมน้ำมันงา รักษาโรคผิวหนังอย่างกลาก เกลื้อน เรื้อนกวาง ทาบริเวณที่มีอาการ
• น้ำมันงาผสมน้ำปูนใส ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนจากน้ำร้อนลวกได้เป็นอย่างดี ใช้น้ำมันงา 1 ส่วน น้ำปูนใส 1 ส่วน ตีให้เข้ากันจนเป็นครีมขาว เอาผ้าขาวบางที่สะอาดจุ่มแล้วแปะไว้บริเวณที่เป็นแผล
• แก้ปัญหาผมร่วง ใช้น้ำมันงาเคี่ยว ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมาทาบริเวณที่ผมร่วง วันละหลาย ๆ ครั้ง จนกระทั่งผมเริ่มขึ้น
• น้ำมันงา ใช้นวดบรรเทาอาการช้ำบวม ให้ทาน้ำมันงาแล้วนวดเบา ๆ รอบ ๆ บริเวณ จะทำให้ตรงที่ช้ำบวมหายเร็วขึ้น
• เป็นหวัด แพ้อากาศ ให้รับประทานงาเป็นประจำ (ทานช่วงเช้า ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) จะทำให้หายใจโล่ง อาการดีขึ้น
• ฤทธิ์ระบายท้องของงา ช่วยลดอาการอักเสบของหัวริดสีดวง ช่วยห้ามเลือดจากหัวริดสีดวง และน้ำมันงายังใช้ทาหัวริดสีดวง แก้ริดสีดวงอักเสบได้ด้วย
Tips
ใช้น้ำมันงาดิบนวดตัว เพื่อขจัดอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเข่า เคล็ดขัดยอก ทำให้กล้ามเนื้อไม่เหี่ยวย่น ดูอ่อนเยาว์ เนื่องจากน้ำมันงาดิบสามารถซึมผ่านผิวได้ทุกชั้น
สำหรับผู้ที่เป็นไซนัส ใช้มันงาดิบหยอดจมูก 1-2 หยด จะได้ผลดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ดร.วีณา เชิดบุญชาติ , งาและน้ำมันงา
เฉลียว ปิยะชน. อายุรเวช วิถีสู่สุขภาพตามธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด, 2539.
พัชรี กวนใจ. “น้ำมันงา ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวไต” ใน หมู่บ้านไท. ปีที่ 1 ฉบับที่ 6 เดือนสิงหาคม 2543. (หน้า 20-22)
หยาดฝน. ” ‘อีดงา’ การสกัดน้ำมันงาแบบพื้นบ้าน” ใน กรีนเนท. ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนตุลาคม 2543. (หน้า7-9)
http://www.school.net.th/library/snet4/june22/sesame.htm 26/1/2546
เขียนโดย Banraidindeejai